วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แนวทางและกลยุทธ์ในการดำเนินงานโรงเรียนในฝัน

แนวทางการดำเนินงาน
                                                                                      
การคัดเลือกโรงเรียนเข้าโครงการเป็นมิติที่แสดงถึงความร่วมมิอของประชาชนและองค์กรท้องถิ่่่่่นโดยจะใช้เงินงบประมาณจากรัฐบาลและเงินอุดหนุนจากภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และจากชุมชน มาใช้มในการพัฒนาโรงเรัยนในส่วนการบริหารจัดการสถานศึกษา จะระดมความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้วโรงเรียนชั้นนำเพื่อพัฒนาบุคคลากรและให้การสนับสนุนด้านการเรียนการสอนแก่โรงเรียนในฝัน

สานฝันให้กับแผ่นดิน

"โรงเรียนในฝัน...เป็นโรงเรียนของคนไทยทุกคน เราจะต้องร่วมมิอร่วมใจ สานฝันให้เกิดโรงเรียนดีมีคุณภาพมาตรฐาน อยู่ใกล้บ้าน เพื่อเด็กไทยจะได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เติบโตเป็นคนดี และคนเก่งของสังคม"

กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ


เพื่อให้การดำเนินงานโครงการ ๑ อำเภอ ๑ อำเภอในฝัน บรรละเป้หมายสูงสุด คือ คุณภาพของนักเรียนจำเป็นที่จะต้องมีรูปแบบในการปฏิบัติที่ชัดเจนและวัดผลได้ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้นำรูปแบบการกำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุล ( Balanced Scorecard) ซึ่งเป็นการพิจารณามุมมองที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของการดำเนินงาน ๔ ด้าน คือ
๑. มุมมองด้านนักเรียน (Student Perspective)
๒. มุมมองด้านกระบวนการจัดการศึกษาภายใน (Internal Process Perspective)
๓. มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา(Learning and Growth Perspective)
๔. มุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร (Budget and Resource Perspective)

โดยมีกลยุทธ์การดำเนินงานดังนี้
๑. สร้างพลังขับเคลื่อนให้โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่ดี คล่องตัว มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม
๒. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และทักษะการดำรงชีวิตได้ตามศักยภาพ
๓. สร้างเสริมศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้มีทักษะวิชาชีพ สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
๔. เพิ่มสมรรถนะของโรงเรียนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้และบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
๕. ระดมสรรพกำลัง สร้างระบบเครือข่ายอุปถัมภ์การศึกษาที่เข้มแข็ง อันเกิดจากพลังงานมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรประชาสังคม ในรูปแบบของผู้อุปถัมภ์และผู้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา


โครงการนี้จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อสร้างโรงเรียนที่ดีมีคุณภาพแก่ลูกหลานไทยในทุกอำเภอ ทุกตำบล ทุกหมู่บ้านเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกันทั่วทั้งประเทศเด็กไทยจะได้เข้าศึกษาในโรงเรียนดี ๆ อย่างมีความสุขโดยไม่ต้องจากบ้านไปไกล ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ผู้ปกครอง และเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครองครัวให้อบอุ่นยิ่งขึ้น

What is Lab School? โรงเรียนในฝัน คือ อะไร

ผู้อ่านคงได้รับทราบถึงที่มาของโรงเรียนในฝัน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลว่ามีความเป็นมาอย่างไรแล้วนะคะ อาจกล่าวพอสรุปได้ว่า โรงเรียนในฝัน (Lab School) คือความมุ่งมั่นของรัฐบาล โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่มีเจตจำนงมุ่งมุ่นต้องการเห็นเด็กไทยได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน และได้รับการพัฒนาสร้างเสริมให้เป็นผู้รักการอ่าน คิดเป็น วิเคราะห์ได้ รักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต เติบโตด้วยความเชื่อมั่นมีคุณธรรม รักษ์วัฒนธรรมไทย ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพสูงสุด นั่นคือ คุณภาพของเด็กไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒


การศึกษาที่มีคุณภาพสามารถลดช่องว่างของบุคคลในสังคมได้ และจะช่วยให้ประชาชนสามารถหลุดพ้นจากวงจรความยากจน ดังนั้น รัฐบาลจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างโรงเรียนในฝัน โดยมีวัตถุประสงค์คือ
๑. กระจายโรงเรียนที่มีคุณภาพมาตรฐานให้ทั่วถึงทุกอำเภอ และกระจายสู่ตำบล จนถึงหมู่บ้าน
๒. เด็กในชนบทมีโอกาสเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนที่มีคุณภาพซึ่งอยู่ใกล้บ้าน
๓. สร้างให้เด็กเติบโตด้วยความเชื่อมั่น รักการเรียนรู้ รักการอ่าน คิดวิเคราะห์เ ป็น มีความรู้ความสามารถที่จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีความภูมิใจในวัฒนธรรมไทย และรู้มารยาทสากล


กระทรวงศึกษาธิการได้รับนโยบาย โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน (Lab School Project) ดังกล่าวมาดำเนินงาน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลดช่องว่างทางสังคม ให้เกิดโรงเรียนดี มีคุณภาพ กระจายไปทุกอำเภอ ทุกตำบล ทุกหมู่บ้าน เป้าหมายของโครงการแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ ๑ จัดตั้งโรงเรียนในฝัน ๙๒๑ โรงเรียน ในทุกอำเภอทั่วประเทศ
ระยะที่ ๒ ขยายโรงเรียนในฝัน ๘๐๐๐ โรงเรียนสู๋ทุกตำบลทั่วประเทศ
ระยะที่ ๓ ขยายโรงเรียนในฝัน ๔๐,๐๐๐ โรงเรียนสู่ทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ


โรงเรียนในฝัน คือโรงเรียนที่มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานทางการศึกษาของชาติ สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับชุมชนและสังคม มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และมีความเชี่ยวชาญ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการบริหารจัดการ จนเป็นโรงเรียนต้นแบบในด้านการพัฒนาให้กับโรงเรียนอื่นได้ โดยการใช้การบริหารจัดการแนวใหม่ที่มุ่งพัฒนาโรงเรียนทุกๆ ด้าน ทั้งด้านวิชาการ กระบวนการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และการนำเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ โดยมุ่งหวังให้เด็กไทยเป็นคนดีคุณภาพและมีอนาคตที่สดใส สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนในฝัน จะต้องมีการพัฒนาหรือมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในทุก ๆเรื่อง ทุกๆด้าน ซึ่งคงไม่ใช่โรงเรียนที่มีโครงการมาก ๆ หรือโรงเรียนประจำจังหวัดใดๆ เพราะวัตถุประสงค์หลักของโครงการ ต้องการสร้างโรงเรียนนอกเมืองในทุกอำเภอให้ดีเท่า หรือดีกว่าโรงเรียนในเมือง เพื่อ " สร้างโอกาสให้เด็กไทยทั่วประเทศได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน " การที่จะทำ “โรงเรียนในฝัน” ให้เป็น “ฝันที่เป็นจริง” นั้น ต้องยอมรับว่า จะต้องมีการพัฒนาทุกด้านไปพร้อมๆ กัน คือ การพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ มีนิสัยใฝ่รู้ มีความสามารถในการวิเคราะห์และสร้างสรรค์ มีทักษะในการดำรงชีวิต ฯลฯ การพัฒนาให้ครู ผู้บริหาร กรรมการสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องให้ได้รับรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียนต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งการเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการพัฒนาตนเองจากพื้นฐานเดิมๆ ให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น จนเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพ การพัฒนาการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน ให้มีระบบบริหารจัดการที่ดี ผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องเปิดใจกว้างรับฟังแนวคิดของบุคลกรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน กลไกที่สำคัญ คือ นักเรียนและครู ครูโรงเรียนในฝันต้องมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู ครูต้องเปิดใจให้กว้างเช่นเดียวกับผู้บริหาร ส่วนนักเรียนต้องกล้าคิด กล้าถาม กล้าพูด กล้าแสดงออก มีการผนึกพลังสร้างสรรค์และร่วมรับผิดชอบ เพื่อเพิ่มระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น เป็นที่ยอมรับของชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง การพัฒนาด้านงบประมาณและทรัพยากร ที่โรงเรียนสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และจะต้องมีระบบเครือข่าย ผู้อุปถัมภ์ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทุกอย่างที่กล่าวมา ก็เพื่อมุ่งมั่นให้เกิดโรงเรียนดี มีคุณภาพ มีมาตรฐานดีทัดเทียมกับโรงเรียนดังๆ มีชื่อเสียงในเมืองใหญ่


การพัฒนาทุกด้านนั้น จำเป็นที่จะต้องมีแนวทางและกลยุทธ์ในการดำเนินงาน เพื่อให้ความสำเร็จของโรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) เป็นไปตามเจตนารมย์ และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เราจะมาพูดกันถึงแนวทางและกลยุทธ์ในการดำเนินการโรงเรียนในฝัน.....ในโอกาสต่อไป

อ้างอิง : โรงเรียนในฝัน คือ อะไร http://202.143.144.18/web2/ex2.htm

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โรงเรียนดีใกล้บ้าน : โรงเรียนในฝัน : Lab School



โรงเรียนในฝัน มาได้อย่างไร? 

ด้วยเจตนารมณ์ของรัฐบาล (ยุคนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร) ที่มุ่งมั่นในการเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่ห่างไกลได้รับการศึกษาในโรงเรียนในท้องถิ่นใกล้บ้านที่มีคุณภาพของการจัดการศึกษาทัดเทียมกับโรงเรียนชั้นดีในตัวเมืองของจังหวัด นอกจากนี้เป็นการบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอุดมปัญญาอย่างมีความสุขและมีศักดิ์ศรีโดยมีทิศทางและภาพความสำเร็จ วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ดังต่อไปนี้

ทิศทางและภาพความสำเร็จ
“ พลิกระบบการศึกษา หยุดวงจรความยากจน ”

วิสัยทัศน์
“ สร้างโอกาสให้เด็กไทย ”

พันธกิจ
“ สร้างโรงเรียนชั้นดี ให้เด็กไทยได้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต คิดวิเคราะห์ มีความสามารถด้านเทคโนโลยี มีคุณธรรม รักษ์วัฒนธรรมไทย และมั่นใจในตนเอง ”

วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบ ให้กระทรวงศึกษาจัดโครงการ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน ซึ่งในทางปฎิรูปการศึกษา ในทางปฏิบัติตามความเชื่อที่ว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ มีสมรรถนะในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ การศึกษาที่มีคุณภาพสามารถลดช่องว่างของบุคคลในสังคมได้ และจะช่วยให้ประชาชนสามารถหลุดพ้นจากวงจรความยากจน จึงเป็นความมุ่งมันของรัฐบาลที่จะสร้างโรงเรียนในฝัน

ในระยะแรก ได้มีการคัดเลือกโรงเรียนเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบ อำเภอละ 1 แห่ง รวม 921 โรงเรียน จาก 795 อำเภอ 81 กิ่งอำเภอ และ 45 เขตในกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นมิติที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของชุมชนและองค์กรท้องถิ่น ในพื้นที่เขตปกครอง ก่อนที่จะพัฒนาให้เข้าสู่ระยะที่ 2 คือการกระจายสู่โรงเรียนในระดับตำบล และระยะที่ 3 จะขยายเครือข่ายครอบคลุมไปทุกหมู่บ้าน




What is Lab School?
โปรดติดตามต่อไป.......